วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน


 ความเป็นมาของอาเซียน

อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน     
            
“ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ 
  
วัตถุประสงค์หลัก

                           ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่ 

                        ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  
 
ประเทศสมาชิกอาเซียน

 
ราชอาณาจักรไทย   Thailand 


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (INDONESIA) 

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
 •   ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง
•   ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
•   เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน


มาเลเซีย (MALAYSIA) 
• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC)
• ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE ) 
• มีความมั่นคงด้านการเมืองภายในทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบายในด้านต่าง ๆ และมีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
• เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย

บรูไน ดารุสซาลาม (BRUNEI DARUSSALAM) 
• ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว 
• มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 
• มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน 
• มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism 
• เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้น
ข้อมูลทั่วไป 

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
(THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) 
• เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค
• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
(LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC RREPUBLIC) 
• เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง 1,810 กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาว จึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA) 
• มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”

สหภาพพม่า (UNION OF MYANMMAR) 
•     สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย














• มุ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน ค.ศ. 2020 (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง (Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึง ค.ศ. 2057

•  เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก
•  ทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ สัตว์น้ำ)
•  เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย
•  มีบทบาทสูงในกลุ่ม NAM และ OIC

•     ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
•     ประกอบด้วยประชาชนเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ
•     ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น "สยามเมืองยิ้ม"

      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   
          และองค์การระหว่างประเทศ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มารยาทในการพูด


มารยาทที่ดีในการฟัง

 การฟังที่ดีย่อมทำให้ผู้ฟังเกิดสติปัญญา ปัญญาย่อมเป็นแสงสว่างส่องทางชีวิตในราชการและส่วนตัว
การฟังเป็นสิ่งที่ต้องฝึก เช่นเดียวกับการอ่าน การเขียน และการพูด บางคนเข้าใจว่าการฟังนั้นไม่เป็นของยากอะไร แต่ความจริงการฟังจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งก็ต่อเมื่อผู้ฟังรู้จักฟัง ถ้าผู้ฟังไม่รู้จักฟังก็ไร้ประโยชน์หรืออาจจะนำโทษอันยิ่งใหญ่มาสู่ผู้ฟังหรือส่วนรวมได้ ดังเช่นเวลานี้ สิ่งที่เรากลัวที่สุด ก็คือกลัวประชาชนของเราหลงเชื่อสิ่งที่อาจก่อให้เกิดภัยอันใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติได้
ผู้ฟังยังควรจะรักษามารยาทในการฟังให้ดี ทั้งในส่วนตัวและในที่ประชุม ผู้ที่มารยาทดีย่อมเป็นที่สรรเสริญเป็นที่รักใคร่ และมีคนคบหาสมาคมด้วย จะทำการใดย่อมลุล่วงไปด้วยดี มารยาทในการฟังที่ควรจะยึดถือไว้บ้างก็คือ
  1. แสดงความสนใจในขณะที่ผู้พูดพูดกับตน ไม่แสดงทีท่าว่าสนใจกับสิ่งอื่น
  2. ไม่แสดงสีหน้าท่าทางว่าเบื่อหน่าย หรือไม่พอใจ แม้ว่าเรื่องนั้นไม่น่าสนใจ ก็ฝึกที่จะฝืนฟังเอาไว้
  3. ถ้าเป็นการฟังในที่ประชุม ก็ควรมีความเคารพต่อสถานที่และต่อผู้พูด เช่น การนั่งให้เรียบร้อย รู้จักสำรวม และไม่พูดคุยกันในที่ประชุม
  4. ไม่ลุกจากที่ ถ้าจำเป็นก็ต้องขอโทษ หรือถ้าเป็นในห้องประชุมก็แสดงการคารวะผู้เป็นประธาน
  5. ถ้าเข้าห้องประชุมภายหลังเวลา ก็ต้องแสดงคารวะที่ประชุมหรือผู้เป็นประธานเช่นกัน
  6. ไม่ควรทำตนให้เป็นที่รำคาญแก่คนอื่น เช่น การสูบบุหรี่ การสนทนาพูดคุยกัน ฯลฯ
  7. ยอมรับกันที่เหตุผลข้อเท็จจริงและการตัดสินใจของประธานหรือมติที่ประชุม เมื่อได้ข้อยุติแล้วต้องร่วมมือปฏิบัติ ไม่ใช่เมื่อที่ประชุมไม่เอาความคิดเห็นของตนแล้วก็แสดงกิริยาไม่พอใจ เดินออกจากที่ประชุมไป รวมทั้งคัดค้านการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อๆ ไปไม่มีที่สิ้นสุด

มารยาทที่ดีในการพูด
หลักเกณฑ์ในการพูดพอจะประมวลได้ ดังนี้
  1. ก่อนที่จะพูดคิดให้รอบคอบเสียก่อนว่า การพูดนี้จะก่อให้เกิดผลอย่างไร คำพูดเพียงคำสองคำฆ่าคนมามากแล้ว
  2. ไม่ควรพูดให้ร้ายต่อใครด้วยความอิจฉาริษยา การส่อเสียดและป้ายโทษแก่ผู้อื่น เป็นการไร้มารยาทและแสดงความมีใจไม่สะอาดของผู้พูดเอง
  3. ในขณะที่โกรธหรือไม่พอใจผู้ใดควรอดงดพูดไว้ก่อน เพราะในขณะที่โกรธอาจเห็นผิดเป็นชอบ ถ้าไม่ยั้งไว้จะเสียความ
  4. ไม่ควรกล่าววาจาเสียดแทงใจคน แม้จะเป็นการหยอกล้อก็ตามจะทำให้ผู้ฟังมีใจไม่สบาย เป็นการให้ทุกข์แก่ผู้อื่น
  5. แม้ว่าความเห็นจะไม่ตรงกัน ก็ไม่ควรพูดก้าวร้าวหรือขัดคอ ควรจะหาวิธีพูดให้สุภาพ เช่น ขอเสนอความคิดเห็นของตนซึ่งเป็นการแสดงให้ทราบอยู่ในตัวว่าความเห็นไม่ตรงกัน
  6. ใช้ถ้อยคำสุภาพ เรียบร้อย และให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เช่น พูดกับผู้ใหญ่ หรือผู้บังคับบัญชาควรใช้ถ้อยคำให้เกียรติ
  7. ไม่พูดอวดตน อวดภูมิ หรือข่มผู้หนึ่งผู้ใด
  8. ไม่ผูกขาดการพูดแต่เพียงคนเดียว ไม่ว่าการสนทนาหรือการพูดในกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้อื่นพูดบ้าง ในการอภิปรายผู้อภิปรายควรรักษาเวลาโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะเป็นการกินเวลาของผู้อื่น เรื่องที่พูดควรจะรวบรัดให้พอดี การที่กำหนดเวลาไว้นั้นก็ได้พิจารณาแล้วว่าควรจะใช้เวลาทั้งหมดเท่าไร ถ้านานเกินไปผู้ฟังก็หมดสมาธิ
  9. ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่หลงตนจนเกินไป พูดด้วยเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ในการพูด
  10. พูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจ แม้แต่ในการสนทนาส่วนบุคคล
  11. ถ้าอยากจะพูดในขณะที่คนอื่นยังพูดไม่จบ รอให้เขาพูดจบเสียก่อน หรือถ้าเห็นว่าจะรอไม่ได้ก็กล่าวคำขอโทษ
  12. ถ้านำคำพูดของผู้อื่นมากล่าว ก็ต้องเอ่ยนามท่านผู้นั้นเสมอเพื่อเป็นการแสดงคารวะหรือให้เกียรติ
  13. มีท่าทางสุภาพเรียบร้อย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสแต่งกายสุภาพ

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บล็อก

จุดเด่นที่สุดของ Blog

จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติและจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะครับ
blog มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเพราะ เราสามารถนำความรู้ในการเขียนบล๊อกไปใช้กับการเรียนนการสอนโดยให้ครูกับันักเรีนยสร้างบล๊อก   การสร้างบล๊อกต้องอาศัยทั้งการมีความรู้และมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะให้บล๊อกของตนเองน่าสนใจขึ้น ทำให้นักเรียนมีความคิดทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน และยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างครูกับนักเรียนสร้างความใกล้ชิด  สามารถติดต่อสอบถามเมื่อเวลามีปัญหาและยังสามารถเขียนเรื่องเกี่ยวกับความรู้เพื่อให้มาศึกษาได้  update เหตุการณ์ต่างๆได้ง่าย ใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นส่วนตัว